ข้อผิดพลาดและการแก้ไขสูตรใน Excel

การใช้สูตรใน Excel บางครั้งก็มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นทำให้ได้ผลลัพธ์ที่เราไม่ตั้งใจ ซึ่งข้อผิดพลาดนี้จะแสดงขึ้นมาในรูปแบบต่าง ๆ โดยเราสามารถตรวจสอบหาสาเหตุและสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้ดังนี้

ข้อผิดพลาด สาเหตุ วิธีการแก้ไข
#NUM! – เกิดจากการใช้อาร์กิวเมนต์ผิดประเภท คือ ข้อมูลที่ใช้จะต้องเป็นตัวเลขแต่เราใช้ข้อมูลประเภทอื่น
– ผลลัพธ์ของสูตรที่เราคำนวณได้ค่าตัวเลขที่มากหรือน้อยเกินไป
– แก้ไขอาร์กิวเมนต์ให้ถูกประเภทตรวจสอบความถูกของอาร์กิวเมนต์ที่ใช้ในฟังก์เป็นตัวเลข
#NULL! – เกิดจากใช้เซลล์อ้างอิงผิดทำให้ Excel ไม่สามารถกำหนดเซลล์ที่ต้องการได้ – แก้ไขเซลล์อ้างอิงให้ถูกต้อง
#REF! – เซลล์ที่เราอ้างถึงในสูตรถูกลบหรือเซลล์นั้นถูกข้อมูลอื่นย้ายมาทับ
– มีการอ้างถึงข้อมูลของโปรแกรมอื่นที่ไม่ได้กำลังทำงานอยู่
– ใช้ปุ่ม Error! Objects cannot be created from editing field codes.
– ยกเลิกการลบเซลล์หรือย้ายเซลล์ แก้ไขชื่อเซลล์ในสูตรให้เป็นเซลล์อื่น
– เรียกโปรแกรมนั้นมาทำงาน
##### – ข้อมูลตัวเลขที่เราใส่ลงไปในเซลล์ยาวกว่าความกว้างของเซลล์
– ผลลัพธ์ของสูตรคำนวณยาวเกินไป
– นำค่าข้อมูลมาลบกันแล้วมีค่าติดลบ  
– ปรับคอลัมน์ให้กว้างขึ้น
– ใช้รูปแบบตัวเลขที่สั้นลงหรือลดทศนิยม
– สลับค่าที่นำมาลบให้ค่าที่ออกมาไม่ติดลบ
#NAME! – ชื่อเซลล์ที่ใช้ในสูตรสะกดผิดหรือไม่มีชื่อเซลล์นนั้น
– ชื่อฟังก์ชันที่ใช้ในสูตรสะกดผิด
– การใส่ข้อความในสูตรโดยที่ไม่ใส่ “ ” คร่อมข้อความนั้นซึ่ง Excel จะตีความว่าข้อความนั้นเป็นชื่อเซลล์
– ไม่ใส่เครื่องหมาย : (Colon) เมื่อมีการอ้างถึงเซลล์ที่เป็นช่วง (A1:A10)
– ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อเซลล์หรือเซลล์นั้นเคยมีอยู่แต่ถูกลบไป
– ตรวจสอบฟังก์ชันที่เราใช้ถ้าเป็นโปรแกรมเสริม add-in เราก็เรียกใช้โปรแกรมนั้นก่อน
– ตรวจข้อความที่เราใช้ในสูตรคำนวณตรวจสอบเซลล์ที่มีการอ้างถึงว่ามีเครื่องหมายโคลอนอยู่ด้วย
#VALUE! – เป็นการใช้ operand ผิดประเภท เช่นการใช้ข้อมูลตัวเลขคำนวณกับข้อมูลข้อความ
– ใช้อาร์กิวเมนต์ผิดประเภท
– แก้ไข operand หรือแก้ไขค่าอาร์กิวเมนต์ในสูตรให้ถูกต้อง เช่น การนำค่าตัวเลขไปบวกกับข้อความ
#N/A – ใส่อาร์กิวเมนต์ให้ฟังก์ชันไม่ครบหรือไม่ถูกกับฟังก์ชัน
– สูตรอาร์เรย์ที่มีจำนวนแถวหรือคอลัมน์ไม่เหมือนกับช่วงที่มีสูตรอาร์เรย์
– ตรวจสอบความถูกต้องของอาร์กิวเมนต์ฟังก์ชันต่างๆ
– อ้างอิงช่วงเซลล์ในอาร์เรย์ให้เท่ากัน
#DIV/0 – เมื่อมีคำนวณหารตัวเลขที่เป็นศูนย์หรือหารด้วยเซลล์ที่ไม่มีค่า เช่น =A1/A2 โดยที่ A2 มีค่าเป็น 0 – ตรวจสอบว่าฟังก์ชันหรือตัวหารมีค่าเป็นศูนย์หรือไม่